หนังสือเก่าที่มีคุณค่าอีกเล่มหนึ่งมีชื่อว่า “พระโอวาทของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ซึ่งประทานที่โรงเรียนเมืองปัตตานี เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2472 โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (อธิบดีกรมศึกษาธิการพระองค์แรก ต่อมาปรับเป็นกระทรวงธรรมการ ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ทรงพิมพ์เป็นมิตรพลีขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2473 (ปีใหม่ในสมัยนั้น คือ วันที่ 1 เมษายน) เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วประเทศ ผู้เขียนเห็นเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนแม้ในปัจจุบัน จึงเชิญพระโอวาทบางบทบางตอนมาเผยแพร่อีกครั้งในเดลินิวส์ฉบับนี้
สารบาญของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ปรารภเบื้องต้น ว่าด้วยการเรียน ว่าด้วยการสอน และว่าด้วยราชการ ตอนที่เกี่ยวข้องกับเด็กนักเรียนโดยตรงคือ ตอนว่าด้วย “การเรียน” ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระดำรัสว่า
สารบาญของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ปรารภเบื้องต้น ว่าด้วยการเรียน ว่าด้วยการสอน และว่าด้วยราชการ ตอนที่เกี่ยวข้องกับเด็กนักเรียนโดยตรงคือ ตอนว่าด้วย “การเรียน” ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระดำรัสว่า
เด็กนักเรียนทั้งหลายบรรดามาอยู่ในที่นี้ ใครเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า เหตุใดตัวจึงต้องมาเข้าโรงเรียน ความจริงนั้น ธรรมดาคนเราเมื่อแรกเกิดจำต้องอาศัยผู้ใหญ่เลี้ยง คือแม่ให้กินนมเป็นต้นจึงรอดชีวิต ครั้นค่อยเติบใหญ่ขึ้น จะอาศัยผู้ใหญ่เหมือนอย่างเมื่อยังเป็นเด็กไม่ได้ เพราะเขาแก่ชราอ่อนกำลังลง ลูกที่เป็นหนุ่มเป็นสาวก็จะต้องหาเลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณมิให้พ่อแม่ได้ความเดือดร้อน ว่าโดยย่อในไม่กี่ปีนักเรียนทั้งหลายนี้จะถึงเวลาต้องหาเลี้ยงตัวเองเหมือนกันหมดทุกคน จะผิดกันตรงแต่ว่าใครได้อุตส่าห์ ศึกษาหาความรู้ ใส่ตัวเตรียมไว้ เมื่อถึงเวลาจะต้องหาเลี้ยงตัวเองเช่นนั้น ก็อาจจะหาได้สะดวกดีมีความสุข ใครไม่มีความรู้ ก็จะได้ความทุกข์ยากลำบากแก่ตัวไปตลอดชีวิต ที่รัฐบาลตั้งโรงเรียนก็ดี ที่พ่อแม่และผู้ปกครองส่งเด็กมาเข้าโรงเรียนก็ดี ก็ด้วยประสงค์อย่างเดียวกัน คือจะให้เด็กได้โอกาสศึกษาหาความรู้สำหรับเตรียมตัวไว้ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นถึงเวลาจะต้องหาเลี้ยงตัวเองเมื่อใด ก็จะได้รู้ทางทำมาหากินไม่ต้องเป็นทุกข์ยากเดือดร้อนเมื่อภายหน้า
อนึ่งการศึกษาย่อมเป็นธรรมดาของเด็ก ถึงจะเข้าโรงเรียนหรือไม่เข้าโรงเรียน ก็คงต้องศึกษาอยู่นั่นเอง จะชี้พอเป็นอุทาหรณ์ เช่นบรรดาเด็กที่เกิดมา พอรู้ความพ่อแม่ก็สั่งสอนให้กินอยู่เล่นหัวแต่พอควร ห้ามมิให้วิวาทกับผู้อื่น เหล่านี้เป็นการสอนให้เด็กรู้จักรักษาตัว ตรงกับตำราเรียกว่า “สามัญศึกษา” คือความรู้อันสมควรเด็กทุกคนจะต้องเรียน ครั้นต่อมาเมื่อเด็กค่อยเติบโตขึ้น ถ้าพ่อแม่เป็นชาวนา ก็เริ่มสอนลูกให้รู้กระบวนการทำนา ตั้งแต่หัดให้เลี้ยง วัว ควาย เป็นต้น แล้วให้ช่วยพ่อแม่ทำการ สอนให้รู้วิธีทำนาเป็นอย่างๆขึ้นไปจนลูกสามารถทำนาเองได้โดยลำพังตัวเอง ถ้าพ่อแม่เป็นช่าง ก็สอนลูกโดยทำนองเดียวกัน เพื่อจะให้ลูกสามารถหาเลี้ยงตัวได้ด้วยทำการนั้นๆในภายหน้า เหล่านี้เป็นการสอนวิชชาอาชีพ ตรงกับตำราเรียกว่า “วิสามัญศึกษา” คือความรู้อย่างใดเหมาะแก่ใคร คนนั้นก็เรียนแต่อย่างนั้น ไม่ต้องเรียนทุกอย่างเหมือนกันหมดทุกคน
อนึ่งการศึกษาย่อมเป็นธรรมดาของเด็ก ถึงจะเข้าโรงเรียนหรือไม่เข้าโรงเรียน ก็คงต้องศึกษาอยู่นั่นเอง จะชี้พอเป็นอุทาหรณ์ เช่นบรรดาเด็กที่เกิดมา พอรู้ความพ่อแม่ก็สั่งสอนให้กินอยู่เล่นหัวแต่พอควร ห้ามมิให้วิวาทกับผู้อื่น เหล่านี้เป็นการสอนให้เด็กรู้จักรักษาตัว ตรงกับตำราเรียกว่า “สามัญศึกษา” คือความรู้อันสมควรเด็กทุกคนจะต้องเรียน ครั้นต่อมาเมื่อเด็กค่อยเติบโตขึ้น ถ้าพ่อแม่เป็นชาวนา ก็เริ่มสอนลูกให้รู้กระบวนการทำนา ตั้งแต่หัดให้เลี้ยง วัว ควาย เป็นต้น แล้วให้ช่วยพ่อแม่ทำการ สอนให้รู้วิธีทำนาเป็นอย่างๆขึ้นไปจนลูกสามารถทำนาเองได้โดยลำพังตัวเอง ถ้าพ่อแม่เป็นช่าง ก็สอนลูกโดยทำนองเดียวกัน เพื่อจะให้ลูกสามารถหาเลี้ยงตัวได้ด้วยทำการนั้นๆในภายหน้า เหล่านี้เป็นการสอนวิชชาอาชีพ ตรงกับตำราเรียกว่า “วิสามัญศึกษา” คือความรู้อย่างใดเหมาะแก่ใคร คนนั้นก็เรียนแต่อย่างนั้น ไม่ต้องเรียนทุกอย่างเหมือนกันหมดทุกคน
การศึกษาของเด็กที่โรงเรียนนั้น คนทั้งหลายมักเข้าใจกันว่าเรียนแต่วิชชาหนังสือ จึงมักเรียกการศึกษาว่า “เรียนหนังสือ” ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น หนังสือเป็นแต่เครื่องเก็บรักษาวิชชาความรู้ไว้เหมือนอย่างคลังที่เก็บทรัพย์มฤดก การเรียนหนังสือเหมือนหาลูกกุนแจสำหรับไขคลังเข้าไปเอาทรัพย์มฤดก คือวิชชาและความรู้ มุ่งหมายให้เป็นประโยชน์แก่นักเรียน 3 อย่างเหมือนกันหมด คือ อย่างที่ ๑ นั้น มุ่งหมายจะให้นักเรียนมีกำลังร่างกายแข็งแรงและปราศจากโรคภัย เพื่อให้อายุยืนอยู่ได้จนแก่เฒ่า การที่สอนความรู้อนามัยก็ดี ฝึกหัดกายบริหารก็ดี อยู่ในประโยชน์อย่างที่ 1 นี้ อย่างที่ 2 นั้น มุ่งหมายจะให้นักเรียนเป็นสาธุชน คือ คนประพฤติตัวดี เป็นที่เชื่อถือของผู้อื่น การที่สอนจรรยาและสอนศาสนา อยู่ในประโยชน์อย่างที่ 2 นี้ อย่างที่ 3 นั้น มุ่งหมายจะให้นักเรียนมีสติปัญญา การที่สอนให้คิดเลขก็ดี ให้รู้ภูมิศาสตร์และพงศาวดารก็ดี ชี้ให้เห็นลักษณะวัตถุหรือกิจการต่างๆ ที่เป็นจริง เหล่านี้อยู่ในประโยชน์อย่างที่ 3
การฝึกหัดเป็นลูกเสือ รวมประโยชน์ทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมาอยู่ในนั้น รัฐบาลจึงได้บำรุง และประโยชน์ 3 อย่างนั้นเป็นองค์ของสามัญศึกษา เมื่อนักเรียนเรียนได้ตลอดแล้ว จะไปเรียนวิชชาความรู้ชั้นวิสามัญศึกษาอย่างใดสำหรับหาเลี้ยงตัวก็จะเรียนได้สะดวกดี เพราะได้รับความฝึกหัดอบรมและมีความรู้เบื้องต้นเป็นทุนสำหรับตัวไปแล้ว ต่อเด็กคนใดเล่าเรียนด้วยตั้งใจจะหาความรู้ เด็กคนนั้นจึงเรียนได้สำเร็จ เพราะฉะนั้นนักเรียนทั้งหลายที่มาเข้าโรงเรียน เบื้องต้นต้องเคารพนับถือครู อันลักษณะการเรียนนั้นตามคติโบราณ ว่ามีองค์ซึ่งต้องถือเป็นหลัก 4 อย่างคือ
อย่างที่ 1 ต้องตั้งใจ ฟัง คำสอนของครู อย่างที่ 2 ฟังแล้วต้อง คิด ดูให้เข้าใจ อย่างที่ 3 ถ้ายังไม่เข้าใจต้อง ถาม อย่างที่ 4 เมื่อเข้าใจแล้วต้อง จำ ไว้ ข้อความที่กล่าวมาเหล่านี้ เด็กนักเรียนทั้งหลายจงจำไว้เป็นคติ
พระโอวาทนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานเมื่อ 80 กว่าปีมาแล้ว แต่หากนำมาพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่าสอดคล้องตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องการพัฒนาสุขอนามัย ศีลธรรมจรรยา การพัฒนาสติปัญญาความรู้ และการเรียนก็เพื่อพัฒนาอาชีพให้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวให้มีความอยู่ดีกินดี ซึ่งตรงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
หากเด็กนักเรียนทั้งหลายลองอ่านพระโอวาทให้ดี ตรึกตรองให้เข้าใจ และนำไปปฏิบัติก็จะเป็นประโยชน์แก่อนาคตของเด็กๆทุกคนอย่างแน่นอน
แหล่งที่มาของข้อมูล www.dailynews.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น