นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ใน 7 จังหวัดนำร่องของรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา แม้มีเป้าหมายเพื่อต้องการเพิ่มรายได้แก่ประชาชนต่อสู้กับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่ในความจริงแล้วได้สร้างความเดือดร้อนถึงประชาชนตามมาด้วย เพราะค่าแรงที่เพิ่มขึ้นได้ซ้ำเติมปัญหาข้าวของเครื่องใช้สินค้าปรับราคาให้แพงขึ้นอีก
สินค้าแพงรอล่วงหน้า
ก่อนหน้านี้คนไทยต้องเผชิญปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูงมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ตั้งแต่วิกฤติน้ำมันปาล์มแพงขาดตลาด ราคาเนื้อหมู กก.ละ 150 บาท ไข่ไก่ฟองละ 7-8 บาท หรือแม้แต่ข้าวแกงจานละ 40 บาท ยังไม่นับรวมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มีการปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
ต้นเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นช่วงก่อนหน้านี้มีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาวัตถุดิบผลิตสินค้าปรับขึ้นตามราคาตลาดโลก เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันเชื้อเพลิง การได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว และที่สำคัญคือการฉวยโอกาสจากกลุ่มพ่อค้า ผู้ผลิตสินค้า ที่มักอ้างว่าสินค้าต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลเตรียมตัวปรับเพิ่มค่าแรง
ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้สร้างความเดือดร้อนและความกังวลใจอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของประชาชน วัดได้จากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะค่าครองชีพที่ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องตลอด 1 ปีหลัง โดยเฉพาะเดือนล่าสุด มี.ค. 55 ก่อนที่จะมีการปรับค่าแรง ความเชื่อมั่นภาวะค่าครองชีพลดลงเหลือ 72.9 ต่ำสุดในรอบ 20 เดือน เนื่องจากประชาชนมีความกังวลต่อปัญหาราคาสินค้าข้าวของที่ปรับสูงขึ้น ไม่สอดคล้องกับรายรับของตัวเอง ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีต้นเหตุจากหมวดราคาสินค้าอาหารสด ข้าวแกงที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดข่าวชาวบ้านร้องเรียนปัญหาข้าวของแพงตามหน้าหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นระยะ
เห็นได้ว่าที่ที่ผ่านมาราคาสินค้าได้ปรับขึ้นไปรอล่วงหน้าแล้ว ทั้งที่ค่าแรงยังไม่ได้ปรับขึ้น หลังจากนี้จึงเกิดความกังวลว่าเมื่อผ่านพ้นวันที่ 1 เม.ย. 55 ไปแล้ว ค่าแรงขั้นต่ำตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นจะซ้ำเติมให้ราคาสินค้าปรับขึ้นไปอีกจนเกินขีดความสามารถที่ประชาชนจะรับได้หรือไม่ เพราะค่าแรงถือเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ต้นทุนสินค้าพุ่ง
ภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ให้ความเห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 7 จังหวัดมีผลกระทบต่อต้นทุนของเอกชนมาก เพราะมีผู้ประกอบการถึง 69% ที่ยังจ่ายค่าแรงไม่ถึงวันละ 300 บาท และผลการศึกษาผลกระทบของภาคเอกชนพบว่า การขึ้นค่าแรงกระทบต่อต้นทุนผู้ผลิตเฉลี่ย 5-10% โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากและน่าเป็นห่วงมากสุด เป็นธุรกิจบริการเพราะต้นทุนเพิ่มขึ้น 10.1% เช่น ธุรกิจดูแลรักษาความปลอดภัย (ยาม) พนักงานโรงแรม ท่องเที่ยว ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รองลงมาเป็นภาคการเกษตรกระทบ 6.1% ภาคการค้า 5.2% และภาคอุตสาหกรรม 5.3%
รัฐบาลยันเอาอยู่
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ฝั่งรัฐบาลอย่าง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เชื่อมั่นว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท กระทบต่อต้นทุนราคาสินค้าน้อย เพราะค่าแรงไม่ใช่สัดส่วนใหญ่ของต้นทุนสินค้า และขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่อยู่ในบัญชีสินค้าควบคุมขอปรับขึ้นราคาสินค้ามา โดยกระทรวงยืนยันทำหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเต็มที่ เพราะนอกจากบัญชีสินค้าควบคุม 42 รายการที่ไม่ปรับขึ้นแล้ว ยังมีการดูแลสินค้าติดตามดูแลอีก 200 รายการอย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้มั่นใจสินค้าจะราคาไม่ขึ้น แต่หากประชาชนพบเห็นการฉวยปรับขึ้นราคาสามารถแจ้งเข้ามาได้ที่ 1569 กระทรวงจะเร่งตรวจสอบให้เพราะถือว่าผิดกฎหมายเนื่องจากยังไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวง
ขณะที่การศึกษาผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในเดือน เม.ย. 55 ที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 175.82 บาท เป็นเฉลี่ย 245.04 บาท สูงขึ้น 69.22 บาท หรือ 39.37% ส่งผลกระทบทุกหมวดสินค้าให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.092-8.565% และไม่จำเป็นต้องมีการขึ้นราคา โดยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาเพิ่มเฉลี่ย 0.310-2.270% สินค้าที่ได้รับผลกระทบต่ำสุดคือแป้งสาลี มากสุดเป็นนมถั่วเหลืองยูเอชที หมวดของใช้ประจำวันเพิ่ม 0.092-3.106% กระทบต่ำสุดยาสีฟันและสูงสุดแป้งเด็ก หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่ม 0.491-5.311% กระทบต่ำสุดกระดาษเช็ดชำระ สูงสุดเยื่อกระดาษ
สำหรับหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 0.540-2.118% กระทบต่ำสุดตู้เย็น สูงสุดหลอดไฟฟ้า หมวดบริภัณฑ์ขนส่งเพิ่ม 0.293-2.911% กระทบต่ำสุดรถยนต์นั่ง สูงสุดหมวกนิรภัย หมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่ม 0.189-4.372% กระทบต่ำสุดเหล็กแผ่นรีดร้อน สูงสุดไม้อัดสลับชั้น หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพิ่ม 0.381-2.590% กระทบต่ำสุดเม็ดพลาสติก สูงสุดถุงพลาสติก หมวดปัจจัยทางเกษตรเพิ่ม 0.126-2.013% กระทบต่ำสุดปุ๋ยเคมี สูงสุดจอบ และหมวดทั่วไปเพิ่ม 1.075-8.565% กระทบต่ำสุดแถบบันทึกเสียง สูงสุดเครื่องแบบนักเรียน ค่าขนส่ง (150 กม.ต่อเที่ยว) กระทบ 4.458% ค่าชมภาพยนตร์เพิ่ม 0.686%
จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูงจะเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปชุดนักเรียน เพราะต้องอาศัยแรงงานในการตัดเย็บ รวมถึงผลิตภัณฑ์กระดาษ แต่สำหรับหมวดของใช้ประจำวัน เช่น แป้งเด็ก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก ได้รับผลกระทบจากต้นทุนน้อยมากเพียง 0.09-3.1%
ชาวบ้านกระอัก
แต่ในฟากของชาวบ้านกลับมีความเห็นในทางตรงกันข้าม เพราะขณะนี้ราคาสินค้ายังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงที่มีต่อการจับจ่ายใช้สอยและราคาสินค้าเมื่อต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาระบุว่า มีประชาชนถึง 54.2% มองว่าการขึ้นค่าจ้างทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และมีถึง 6.2% ที่ตอบว่าราคาสินค้าได้ปรับขึ้นมาก ส่วนที่เห็นว่าราคาสินค้าอยู่เท่าเดิมมี 29.4% ส่วนที่เห็นว่าราคาสินค้าลดลงและไม่กระทบเลยมีเพียง 10.3%
เห็นได้ว่าในมุมมองของประชาชนส่วนใหญ่ 60% ระบุว่าสินค้าแพงขึ้นจากการขึ้นค่าแรงแล้ว ซึ่งผลสำรวจยังระบุอีกว่า มีชาวบ้านถึง 67.7% ที่ระบุว่าราคาสินค้าที่สูงขึ้นไม่ควรปรับแพงขึ้นกว่าค่าจ้าง และอีก 15.7% ไม่สามารถรับมือกับปัญหาราคาสินค้าที่แพงขึ้นได้เลย สะท้อนว่าแม้รายรับจากค่าแรงจะปรับขึ้น แต่รายจ่ายจากสินค้าแพงกลับเพิ่มสูงยิ่งกว่า
สินค้าแพงรอล่วงหน้า
ก่อนหน้านี้คนไทยต้องเผชิญปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูงมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ตั้งแต่วิกฤติน้ำมันปาล์มแพงขาดตลาด ราคาเนื้อหมู กก.ละ 150 บาท ไข่ไก่ฟองละ 7-8 บาท หรือแม้แต่ข้าวแกงจานละ 40 บาท ยังไม่นับรวมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มีการปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
ต้นเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นช่วงก่อนหน้านี้มีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาวัตถุดิบผลิตสินค้าปรับขึ้นตามราคาตลาดโลก เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันเชื้อเพลิง การได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว และที่สำคัญคือการฉวยโอกาสจากกลุ่มพ่อค้า ผู้ผลิตสินค้า ที่มักอ้างว่าสินค้าต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลเตรียมตัวปรับเพิ่มค่าแรง
ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้สร้างความเดือดร้อนและความกังวลใจอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของประชาชน วัดได้จากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะค่าครองชีพที่ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องตลอด 1 ปีหลัง โดยเฉพาะเดือนล่าสุด มี.ค. 55 ก่อนที่จะมีการปรับค่าแรง ความเชื่อมั่นภาวะค่าครองชีพลดลงเหลือ 72.9 ต่ำสุดในรอบ 20 เดือน เนื่องจากประชาชนมีความกังวลต่อปัญหาราคาสินค้าข้าวของที่ปรับสูงขึ้น ไม่สอดคล้องกับรายรับของตัวเอง ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีต้นเหตุจากหมวดราคาสินค้าอาหารสด ข้าวแกงที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดข่าวชาวบ้านร้องเรียนปัญหาข้าวของแพงตามหน้าหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นระยะ
เห็นได้ว่าที่ที่ผ่านมาราคาสินค้าได้ปรับขึ้นไปรอล่วงหน้าแล้ว ทั้งที่ค่าแรงยังไม่ได้ปรับขึ้น หลังจากนี้จึงเกิดความกังวลว่าเมื่อผ่านพ้นวันที่ 1 เม.ย. 55 ไปแล้ว ค่าแรงขั้นต่ำตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นจะซ้ำเติมให้ราคาสินค้าปรับขึ้นไปอีกจนเกินขีดความสามารถที่ประชาชนจะรับได้หรือไม่ เพราะค่าแรงถือเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ต้นทุนสินค้าพุ่ง
ภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ให้ความเห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 7 จังหวัดมีผลกระทบต่อต้นทุนของเอกชนมาก เพราะมีผู้ประกอบการถึง 69% ที่ยังจ่ายค่าแรงไม่ถึงวันละ 300 บาท และผลการศึกษาผลกระทบของภาคเอกชนพบว่า การขึ้นค่าแรงกระทบต่อต้นทุนผู้ผลิตเฉลี่ย 5-10% โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากและน่าเป็นห่วงมากสุด เป็นธุรกิจบริการเพราะต้นทุนเพิ่มขึ้น 10.1% เช่น ธุรกิจดูแลรักษาความปลอดภัย (ยาม) พนักงานโรงแรม ท่องเที่ยว ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รองลงมาเป็นภาคการเกษตรกระทบ 6.1% ภาคการค้า 5.2% และภาคอุตสาหกรรม 5.3%
รัฐบาลยันเอาอยู่
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ฝั่งรัฐบาลอย่าง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เชื่อมั่นว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท กระทบต่อต้นทุนราคาสินค้าน้อย เพราะค่าแรงไม่ใช่สัดส่วนใหญ่ของต้นทุนสินค้า และขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่อยู่ในบัญชีสินค้าควบคุมขอปรับขึ้นราคาสินค้ามา โดยกระทรวงยืนยันทำหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเต็มที่ เพราะนอกจากบัญชีสินค้าควบคุม 42 รายการที่ไม่ปรับขึ้นแล้ว ยังมีการดูแลสินค้าติดตามดูแลอีก 200 รายการอย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้มั่นใจสินค้าจะราคาไม่ขึ้น แต่หากประชาชนพบเห็นการฉวยปรับขึ้นราคาสามารถแจ้งเข้ามาได้ที่ 1569 กระทรวงจะเร่งตรวจสอบให้เพราะถือว่าผิดกฎหมายเนื่องจากยังไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวง
ขณะที่การศึกษาผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในเดือน เม.ย. 55 ที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 175.82 บาท เป็นเฉลี่ย 245.04 บาท สูงขึ้น 69.22 บาท หรือ 39.37% ส่งผลกระทบทุกหมวดสินค้าให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.092-8.565% และไม่จำเป็นต้องมีการขึ้นราคา โดยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาเพิ่มเฉลี่ย 0.310-2.270% สินค้าที่ได้รับผลกระทบต่ำสุดคือแป้งสาลี มากสุดเป็นนมถั่วเหลืองยูเอชที หมวดของใช้ประจำวันเพิ่ม 0.092-3.106% กระทบต่ำสุดยาสีฟันและสูงสุดแป้งเด็ก หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่ม 0.491-5.311% กระทบต่ำสุดกระดาษเช็ดชำระ สูงสุดเยื่อกระดาษ
สำหรับหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 0.540-2.118% กระทบต่ำสุดตู้เย็น สูงสุดหลอดไฟฟ้า หมวดบริภัณฑ์ขนส่งเพิ่ม 0.293-2.911% กระทบต่ำสุดรถยนต์นั่ง สูงสุดหมวกนิรภัย หมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่ม 0.189-4.372% กระทบต่ำสุดเหล็กแผ่นรีดร้อน สูงสุดไม้อัดสลับชั้น หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพิ่ม 0.381-2.590% กระทบต่ำสุดเม็ดพลาสติก สูงสุดถุงพลาสติก หมวดปัจจัยทางเกษตรเพิ่ม 0.126-2.013% กระทบต่ำสุดปุ๋ยเคมี สูงสุดจอบ และหมวดทั่วไปเพิ่ม 1.075-8.565% กระทบต่ำสุดแถบบันทึกเสียง สูงสุดเครื่องแบบนักเรียน ค่าขนส่ง (150 กม.ต่อเที่ยว) กระทบ 4.458% ค่าชมภาพยนตร์เพิ่ม 0.686%
จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูงจะเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปชุดนักเรียน เพราะต้องอาศัยแรงงานในการตัดเย็บ รวมถึงผลิตภัณฑ์กระดาษ แต่สำหรับหมวดของใช้ประจำวัน เช่น แป้งเด็ก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก ได้รับผลกระทบจากต้นทุนน้อยมากเพียง 0.09-3.1%
ชาวบ้านกระอัก
แต่ในฟากของชาวบ้านกลับมีความเห็นในทางตรงกันข้าม เพราะขณะนี้ราคาสินค้ายังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงที่มีต่อการจับจ่ายใช้สอยและราคาสินค้าเมื่อต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาระบุว่า มีประชาชนถึง 54.2% มองว่าการขึ้นค่าจ้างทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และมีถึง 6.2% ที่ตอบว่าราคาสินค้าได้ปรับขึ้นมาก ส่วนที่เห็นว่าราคาสินค้าอยู่เท่าเดิมมี 29.4% ส่วนที่เห็นว่าราคาสินค้าลดลงและไม่กระทบเลยมีเพียง 10.3%
เห็นได้ว่าในมุมมองของประชาชนส่วนใหญ่ 60% ระบุว่าสินค้าแพงขึ้นจากการขึ้นค่าแรงแล้ว ซึ่งผลสำรวจยังระบุอีกว่า มีชาวบ้านถึง 67.7% ที่ระบุว่าราคาสินค้าที่สูงขึ้นไม่ควรปรับแพงขึ้นกว่าค่าจ้าง และอีก 15.7% ไม่สามารถรับมือกับปัญหาราคาสินค้าที่แพงขึ้นได้เลย สะท้อนว่าแม้รายรับจากค่าแรงจะปรับขึ้น แต่รายจ่ายจากสินค้าแพงกลับเพิ่มสูงยิ่งกว่า
สินค้าบริการแพงแล้ว
ที่สำคัญถึงวันนี้ผู้ประกอบการหลายรายก็ยืนยันว่าได้ขึ้นราคาสินค้าไปแล้วหลังการปรับขึ้นค่าแรง อย่างค่าล้างรถที่ไม่ได้ถูกเฝ้าจับตาจากภาครัฐก็มีการปรับขึ้น โดย กฤษณ์ กาญจนบัตร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท คาร์แลค (ไทย-เยอรมัน) จำกัด ศูนย์บริการล้างและดูแลรักษารถยนต์ แบรนด์ มอรี่ แคร์ ระบุว่า การขึ้นค่าแรงส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการและบริษัทจำเป็นต้องปรับค่าบริการล้างรถ จากเดิม 150 บาท เพิ่มเป็น 180 บาทในเบื้องต้น และจะทยอยปรับเพิ่มไปถึง 250 บาทในอนาคต เพราะปกติค่าแรงที่บริษัทจ่ายให้พนักงานล้างรถอยู่ที่ 215 บาทต่อวัน เมื่อปรับฐานค่าแรงใหม่ต้นทุนเพิ่ม 40% เราสามารถแบกรับภาระนี้ได้เพียง 2 เดือน จากนั้นจะปรับราคาค่าบริการล้างรถ เริ่มจาก 180 บาท และจะปรับถึงเพดาน 250 บาท
ส่วนร้านกาแฟอะเมซอน ได้ขึ้นป้ายปรับราคาขายกาแฟทุกชนิด เช่น กาแฟร้อน กาแฟเย็น กาแฟปั่น โดยติดป้ายขอปรับราคาชัดเจน พร้อมระบุว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 จากการสอบถามพนักงานที่ร้านกาแฟอะเมซอน ได้รับแจ้งว่ามีการปรับขึ้นทุกสาขา บางรายการมีการปรับราคาขึ้นถึง 10 บาท เช่น เอสเปรสโซ่ปั่น ปกติราคาแก้วละ 45 บาท ปรับขึ้นเป็น 55 บาท ส่วนรายการอื่น ๆ ปรับเฉลี่ยแก้วละ 5-10 บาท เช่นกัน
หรืออย่างแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว ย่านตรอกหม้อ ประจวบ ปราบพาล ก็บอกว่าเดือดร้อนอย่างมาก เพราะมีลูกจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มจากวันละ 200 กว่าบาท เพิ่มเป็น 300 บาท แถมยังต้องเผชิญปัญหาสินค้าราคาแพงทั้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้น หรือแม้กระทั่งค่ารถสามล้อก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยขึ้นราคาขายไปแล้วเมื่อต้นปี ฉะนั้นตอนนี้จะขึ้นราคาอีกก็กลัวว่าจะขายยาก เพราะตอนนี้คนก็เดือดร้อน ประหยัดกันอยู่แล้ว
มุมมองขัดแย้ง การแก้ปัญหาไม่เกิด
ปัญหาที่ตามมาตอนนี้ คือ ความขัดแย้งทางความคิดของฝั่งดูแลราคาสินค้า รัฐบาลกับภาคประชาชนที่มองไม่เหมือนกัน เพราะฝั่งคนดูแลตัวเลขบอกราคาสินค้าไม่ขึ้น แต่ฝั่งของชาวบ้านที่ต้องใช้ชีวิตจริง จ่ายเงินซื้อสินค้าจริง ๆ บอกว่าแพงขึ้นแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อมูลที่รัฐบาลใช้ติดตามดูแลสินค้ามีจำกัดเฉพาะในบัญชีสินค้าและบริการควบคุมเพียง 42 รายการ บัญชีสินค้าและบริการที่ต้องติดตามดูแล 200 รายการ และข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อจากอีกกว่า 400 รายการ แต่ในชีวิตของประชาชนมีค่าใช้จ่ายปลีกย่อยจากค่าครองชีพสูงเป็นหลายหมื่นรายการ สัดส่วนตัวเลขที่ภาครัฐบาลดูแลจึงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่แท้จริงของประชาชน
ค่าครองชีพแพงจึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐจะมองข้ามว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความรู้สึกของประชาชนคิดไปเอง หรือเกิดจากกระแสข่าวตามสื่อไม่ได้ เพราะว่าชีวิตจริงของชาวบ้านกับข้อมูลตัวเลขของผู้บริหารนั้นแตกต่างกัน หากถามกันจริง ๆ มีผู้บริหารประเทศน้อยคนนัก ที่เคยออกมาจ่ายตลาด ซื้อของกินของใช้กันเอง เต็มที่ก็แค่ออกสำรวจตลาดเป็นข่าวชั่วครั้งชั่วคราว ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จึงนำมาจากผู้ประกอบการภาคเอกชน ผู้ผลิต พ่อค้ารายใหญ่เท่านั้น เพราะรัฐไม่ได้มีฐานข้อมูลตัวเลขเป็นของตัวเอง
ความไม่ลงรอยทางความเห็นที่เกิดขึ้น ถือเป็นต้นเหตุอันตราย เพราะเมื่อภาครัฐเห็นว่าค่าแรงไม่ทำให้สินค้าแพง แต่ประชาชนเห็นว่าค่าแรงยิ่งทำให้ของยังแพง การนำไปสู่การแก้ปัญหาย่อมไม่เกิดขึ้นแน่ ดังนั้นรัฐบาลจะเพิกเฉยต่อปัญหาค่าครองชีพนี้ไม่ได้ และรัฐบาลไม่ควรหยุดทำ เพราะเชื่อว่าสินค้าไม่แพงแล้ว ควบคุมอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องที่ผิด เนื่องจากในชีวิตจริงของประชาชนไม่ใช่เป็นแบบนั้น
การทำงานแก้ปัญหาสินค้าแพงถือเป็นเรื่องยาก และไม่ใช่ภาระหน้าที่ที่ตกอยู่กับกระทรวงพาณิชย์ หรือกรมการค้าภายในเพียงอย่างเดียว แต่ถือเป็นการบ้านสำคัญที่รัฐบาลทั้งคณะจะต้องช่วยกันดูแล เพราะตอนนี้ประชาชนจำนวนมากกำลังเดือดร้อนจากภาวะของแพง หากปล่อยให้การขึ้นค่าแรงกดดันราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอีก ชาวบ้านจะเดือดร้อนจนอยู่ไม่ได้ เพราะตอนนี้ค่าแรง 300 บาท ก็ปรับเพิ่มขึ้นยังไม่ทั่วถึงทุกจังหวัด บางจังหวัดขึ้นเพียง 20% แต่สินค้ากลับดาหน้าขึ้นราคาอย่างพร้อมเพรียงกันในทุกที่ไปแล้ว.
ที่สำคัญถึงวันนี้ผู้ประกอบการหลายรายก็ยืนยันว่าได้ขึ้นราคาสินค้าไปแล้วหลังการปรับขึ้นค่าแรง อย่างค่าล้างรถที่ไม่ได้ถูกเฝ้าจับตาจากภาครัฐก็มีการปรับขึ้น โดย กฤษณ์ กาญจนบัตร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท คาร์แลค (ไทย-เยอรมัน) จำกัด ศูนย์บริการล้างและดูแลรักษารถยนต์ แบรนด์ มอรี่ แคร์ ระบุว่า การขึ้นค่าแรงส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการและบริษัทจำเป็นต้องปรับค่าบริการล้างรถ จากเดิม 150 บาท เพิ่มเป็น 180 บาทในเบื้องต้น และจะทยอยปรับเพิ่มไปถึง 250 บาทในอนาคต เพราะปกติค่าแรงที่บริษัทจ่ายให้พนักงานล้างรถอยู่ที่ 215 บาทต่อวัน เมื่อปรับฐานค่าแรงใหม่ต้นทุนเพิ่ม 40% เราสามารถแบกรับภาระนี้ได้เพียง 2 เดือน จากนั้นจะปรับราคาค่าบริการล้างรถ เริ่มจาก 180 บาท และจะปรับถึงเพดาน 250 บาท
ส่วนร้านกาแฟอะเมซอน ได้ขึ้นป้ายปรับราคาขายกาแฟทุกชนิด เช่น กาแฟร้อน กาแฟเย็น กาแฟปั่น โดยติดป้ายขอปรับราคาชัดเจน พร้อมระบุว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 จากการสอบถามพนักงานที่ร้านกาแฟอะเมซอน ได้รับแจ้งว่ามีการปรับขึ้นทุกสาขา บางรายการมีการปรับราคาขึ้นถึง 10 บาท เช่น เอสเปรสโซ่ปั่น ปกติราคาแก้วละ 45 บาท ปรับขึ้นเป็น 55 บาท ส่วนรายการอื่น ๆ ปรับเฉลี่ยแก้วละ 5-10 บาท เช่นกัน
หรืออย่างแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว ย่านตรอกหม้อ ประจวบ ปราบพาล ก็บอกว่าเดือดร้อนอย่างมาก เพราะมีลูกจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มจากวันละ 200 กว่าบาท เพิ่มเป็น 300 บาท แถมยังต้องเผชิญปัญหาสินค้าราคาแพงทั้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้น หรือแม้กระทั่งค่ารถสามล้อก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยขึ้นราคาขายไปแล้วเมื่อต้นปี ฉะนั้นตอนนี้จะขึ้นราคาอีกก็กลัวว่าจะขายยาก เพราะตอนนี้คนก็เดือดร้อน ประหยัดกันอยู่แล้ว
มุมมองขัดแย้ง การแก้ปัญหาไม่เกิด
ปัญหาที่ตามมาตอนนี้ คือ ความขัดแย้งทางความคิดของฝั่งดูแลราคาสินค้า รัฐบาลกับภาคประชาชนที่มองไม่เหมือนกัน เพราะฝั่งคนดูแลตัวเลขบอกราคาสินค้าไม่ขึ้น แต่ฝั่งของชาวบ้านที่ต้องใช้ชีวิตจริง จ่ายเงินซื้อสินค้าจริง ๆ บอกว่าแพงขึ้นแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อมูลที่รัฐบาลใช้ติดตามดูแลสินค้ามีจำกัดเฉพาะในบัญชีสินค้าและบริการควบคุมเพียง 42 รายการ บัญชีสินค้าและบริการที่ต้องติดตามดูแล 200 รายการ และข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อจากอีกกว่า 400 รายการ แต่ในชีวิตของประชาชนมีค่าใช้จ่ายปลีกย่อยจากค่าครองชีพสูงเป็นหลายหมื่นรายการ สัดส่วนตัวเลขที่ภาครัฐบาลดูแลจึงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่แท้จริงของประชาชน
ค่าครองชีพแพงจึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐจะมองข้ามว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความรู้สึกของประชาชนคิดไปเอง หรือเกิดจากกระแสข่าวตามสื่อไม่ได้ เพราะว่าชีวิตจริงของชาวบ้านกับข้อมูลตัวเลขของผู้บริหารนั้นแตกต่างกัน หากถามกันจริง ๆ มีผู้บริหารประเทศน้อยคนนัก ที่เคยออกมาจ่ายตลาด ซื้อของกินของใช้กันเอง เต็มที่ก็แค่ออกสำรวจตลาดเป็นข่าวชั่วครั้งชั่วคราว ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จึงนำมาจากผู้ประกอบการภาคเอกชน ผู้ผลิต พ่อค้ารายใหญ่เท่านั้น เพราะรัฐไม่ได้มีฐานข้อมูลตัวเลขเป็นของตัวเอง
ความไม่ลงรอยทางความเห็นที่เกิดขึ้น ถือเป็นต้นเหตุอันตราย เพราะเมื่อภาครัฐเห็นว่าค่าแรงไม่ทำให้สินค้าแพง แต่ประชาชนเห็นว่าค่าแรงยิ่งทำให้ของยังแพง การนำไปสู่การแก้ปัญหาย่อมไม่เกิดขึ้นแน่ ดังนั้นรัฐบาลจะเพิกเฉยต่อปัญหาค่าครองชีพนี้ไม่ได้ และรัฐบาลไม่ควรหยุดทำ เพราะเชื่อว่าสินค้าไม่แพงแล้ว ควบคุมอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องที่ผิด เนื่องจากในชีวิตจริงของประชาชนไม่ใช่เป็นแบบนั้น
การทำงานแก้ปัญหาสินค้าแพงถือเป็นเรื่องยาก และไม่ใช่ภาระหน้าที่ที่ตกอยู่กับกระทรวงพาณิชย์ หรือกรมการค้าภายในเพียงอย่างเดียว แต่ถือเป็นการบ้านสำคัญที่รัฐบาลทั้งคณะจะต้องช่วยกันดูแล เพราะตอนนี้ประชาชนจำนวนมากกำลังเดือดร้อนจากภาวะของแพง หากปล่อยให้การขึ้นค่าแรงกดดันราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอีก ชาวบ้านจะเดือดร้อนจนอยู่ไม่ได้ เพราะตอนนี้ค่าแรง 300 บาท ก็ปรับเพิ่มขึ้นยังไม่ทั่วถึงทุกจังหวัด บางจังหวัดขึ้นเพียง 20% แต่สินค้ากลับดาหน้าขึ้นราคาอย่างพร้อมเพรียงกันในทุกที่ไปแล้ว.
ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์
แหล่งที่มา : www.dailynews.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น