ร่วมสนับสนุนการคิดที่เป็นวิทยา ศาสตร์…กับผลงานของน้อง ๆ เยาวชนไทยที่เข้าประกวดในโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 14 หรือ YSC 2012
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ 11 ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โครงการดังกล่าวมีเยาวชนไทยสนใจร่วมนำเสนอผลงานจากทั่วประเทศจำนวน 895 โครงงาน ได้รับการสนับสนุนโครงงานจำนวน 227 โครงงาน และผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 52 โครงงาน
หลังจากที่น้อง ๆ ได้นำเสนอผลงานให้กับผู้สนใจรวมถึงคณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว ผลปรากฏว่า โครงงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมี จำนวน 3 โครงงาน
โดยเป็นผลงานในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมถึง 2 โครงงาน คือ โครงงานบทบาทของหอยทากสยามในสวนยางพารา ผลงานของนายณัฐพงษ์ ชิณรา นายจตุพร ฉวีศักดิ์ และนางสาวนันทกานตร์ ล่องโลด นักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี และ โครงงานการศึกษาความสัมพันธ์การย่อยสลายอาหารของมดแดงกับคุณค่าทางโภชนาการในไข่มดแดงของนายกิตติ์ธเนศ ธนะรุ่งโรจน์ทวี จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ
น้องจตุพร ฉวีศักดิ์ หรือน้องเดียร์ ตัวแทนทีมสุราษฎร์พิทยา บอกถึงที่มาของการศึกษาบทบาทของหอยทากสยามในสวนยางพาราว่า เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว ชาวบ้านส่วนใหญ่เชื่อกันว่าหอยทากเป็นศัตรูสำคัญของชาวสวนยาง เพราะกินน้ำยางพารา และอาจทำให้เกิดเชื้อราบนหน้ายางได้ง่าย รวมถึงทำให้น้ำยางลดลง แต่จากการศึกษางานวิจัยพบข้อมูลว่าเมือกของหอยทากเป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ทีมงานสงสัยในข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเลือกที่จะศึกษาบทบาทของหอยทากในสวนยางพารา
น้องเดียร์ บอกว่า ที่เลือกหอยทากสยาม เพราะพบมากโดยเฉพาะในเขตพื้นที่สวนยางของสุราษฎร์ธานี จากการศึกษาพบว่าหอยชนิดนี้จะกินน้ำยางรวมถึงเศษอินทรีย์ในสวนยางเป็นอาหาร ออกหาอาหารในช่วงกลางคืนถึงเช้ามืด และจากการพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วสามารถสรุปได้ว่า หอยทากอาจไม่ได้เป็นศัตรูกับชาวสวนยางพารา เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
โดยข้อเสียก็คือ กินน้ำยางพาราเป็นอาหาร แต่ก็ถือว่าปริมาณน้อยมาก และเมือกของหอยทากอาจทำให้ท่อน้ำยางอุดตันทำให้น้ำยางที่กรีดได้ลดลง แต่ขณะเดียวกันเมือกดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราบนหน้ายางได้ ซึ่งตรงข้ามกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญทางอ้อมในระบบนิเวศในสวนยาง ทำให้ยุงในสวนยางลดลงได้อีกด้วย ทั้งนี้สามารถที่จะการนำเมือกของหอยทากไปพัฒนาต่อยอดเป็นสารอินทรีย์ป้องกันการเกิดเชื้อราที่หน้ายางทดแทนสารเคมีนำเข้าได้อีกด้วย
สำหรับโครงงานศึกษามดแดง น้องเกมหรือนายกิตติ์ธเนศ ธนะรุ่งโรจน์ทวี บอกว่าเป็นการศึกษากรรมวิธีการเลี้ยงมดแดงให้ได้ไข่มดแดงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เพื่อให้คนหันมาเลี้ยงมดแดงเพื่อเอาไข่ แทนการนำมาจากธรรมชาติที่จะทำลายระบบนิเวศ
ส่วนอีก 1 โครงงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นสาขาคณิตศาสตร์ คือ โครงงานการจำแนกชนิดของ trivalent graph โดยใช้รหัสเกาส์ ผลงานของนายกานต์ อิ่มวัฒนา และนายวรฐ ภควัตสุนทร นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องของทฤษฎีปม ที่มีที่มาจากความสงสัยในเรื่องของปมในสายหูฟังที่มักจะยุ่งเหยิงอยู่ตลอดเวลา ผู้พัฒนาสามารถคิดหาวิธีการในการอธิบายทฤษฎีที่ค้นพบได้ด้วยรหัส และสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคำนวณได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีผลงานของนักวิทย์รุ่นเยาว์ที่น่าสนใจอีกหลายชิ้น อาทิ การพัฒนาคุณภาพของหนังเทียมจากแผ่นแบคทีเรียเซลลูโลส ของนายพรพสุ พงศ์ธีระวรรณ อดีตแชมป์ปีที่แล้วและเคยได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้ว ปีนี้นำผลงานมาต่อยอดให้ดีขึ้น จนได้หนังเทียมจากวุ้นมะพร้าว ที่มีคุณสมบัติดีขึ้น คือ เหนียว ไม่เหม็นและยังสามารถซักน้ำได้
จากผลงานเหล่านี้ เรียกได้ว่า การอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายและหาคำตอบให้กับปัญหาใกล้ ๆ ตัว ก็คือ จุดเริ่มต้นของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ที่ก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์ระดับประเทศ
และทั้ง 3 ทีมที่ชนะเลิศ จะเป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปแข่งขันอวดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับโลกในงานอินเทล อินเตอร์เนชั่นแนล ซายน์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง แฟร์ หรือ อินเทลไอเซฟ ที่เมืองพิตส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคมนี้.
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ 11 ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โครงการดังกล่าวมีเยาวชนไทยสนใจร่วมนำเสนอผลงานจากทั่วประเทศจำนวน 895 โครงงาน ได้รับการสนับสนุนโครงงานจำนวน 227 โครงงาน และผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 52 โครงงาน
หลังจากที่น้อง ๆ ได้นำเสนอผลงานให้กับผู้สนใจรวมถึงคณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว ผลปรากฏว่า โครงงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมี จำนวน 3 โครงงาน
โดยเป็นผลงานในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมถึง 2 โครงงาน คือ โครงงานบทบาทของหอยทากสยามในสวนยางพารา ผลงานของนายณัฐพงษ์ ชิณรา นายจตุพร ฉวีศักดิ์ และนางสาวนันทกานตร์ ล่องโลด นักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี และ โครงงานการศึกษาความสัมพันธ์การย่อยสลายอาหารของมดแดงกับคุณค่าทางโภชนาการในไข่มดแดงของนายกิตติ์ธเนศ ธนะรุ่งโรจน์ทวี จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ
น้องจตุพร ฉวีศักดิ์ หรือน้องเดียร์ ตัวแทนทีมสุราษฎร์พิทยา บอกถึงที่มาของการศึกษาบทบาทของหอยทากสยามในสวนยางพาราว่า เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว ชาวบ้านส่วนใหญ่เชื่อกันว่าหอยทากเป็นศัตรูสำคัญของชาวสวนยาง เพราะกินน้ำยางพารา และอาจทำให้เกิดเชื้อราบนหน้ายางได้ง่าย รวมถึงทำให้น้ำยางลดลง แต่จากการศึกษางานวิจัยพบข้อมูลว่าเมือกของหอยทากเป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ทีมงานสงสัยในข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเลือกที่จะศึกษาบทบาทของหอยทากในสวนยางพารา
น้องเดียร์ บอกว่า ที่เลือกหอยทากสยาม เพราะพบมากโดยเฉพาะในเขตพื้นที่สวนยางของสุราษฎร์ธานี จากการศึกษาพบว่าหอยชนิดนี้จะกินน้ำยางรวมถึงเศษอินทรีย์ในสวนยางเป็นอาหาร ออกหาอาหารในช่วงกลางคืนถึงเช้ามืด และจากการพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วสามารถสรุปได้ว่า หอยทากอาจไม่ได้เป็นศัตรูกับชาวสวนยางพารา เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
โดยข้อเสียก็คือ กินน้ำยางพาราเป็นอาหาร แต่ก็ถือว่าปริมาณน้อยมาก และเมือกของหอยทากอาจทำให้ท่อน้ำยางอุดตันทำให้น้ำยางที่กรีดได้ลดลง แต่ขณะเดียวกันเมือกดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราบนหน้ายางได้ ซึ่งตรงข้ามกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญทางอ้อมในระบบนิเวศในสวนยาง ทำให้ยุงในสวนยางลดลงได้อีกด้วย ทั้งนี้สามารถที่จะการนำเมือกของหอยทากไปพัฒนาต่อยอดเป็นสารอินทรีย์ป้องกันการเกิดเชื้อราที่หน้ายางทดแทนสารเคมีนำเข้าได้อีกด้วย
สำหรับโครงงานศึกษามดแดง น้องเกมหรือนายกิตติ์ธเนศ ธนะรุ่งโรจน์ทวี บอกว่าเป็นการศึกษากรรมวิธีการเลี้ยงมดแดงให้ได้ไข่มดแดงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เพื่อให้คนหันมาเลี้ยงมดแดงเพื่อเอาไข่ แทนการนำมาจากธรรมชาติที่จะทำลายระบบนิเวศ
ส่วนอีก 1 โครงงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นสาขาคณิตศาสตร์ คือ โครงงานการจำแนกชนิดของ trivalent graph โดยใช้รหัสเกาส์ ผลงานของนายกานต์ อิ่มวัฒนา และนายวรฐ ภควัตสุนทร นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องของทฤษฎีปม ที่มีที่มาจากความสงสัยในเรื่องของปมในสายหูฟังที่มักจะยุ่งเหยิงอยู่ตลอดเวลา ผู้พัฒนาสามารถคิดหาวิธีการในการอธิบายทฤษฎีที่ค้นพบได้ด้วยรหัส และสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคำนวณได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีผลงานของนักวิทย์รุ่นเยาว์ที่น่าสนใจอีกหลายชิ้น อาทิ การพัฒนาคุณภาพของหนังเทียมจากแผ่นแบคทีเรียเซลลูโลส ของนายพรพสุ พงศ์ธีระวรรณ อดีตแชมป์ปีที่แล้วและเคยได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้ว ปีนี้นำผลงานมาต่อยอดให้ดีขึ้น จนได้หนังเทียมจากวุ้นมะพร้าว ที่มีคุณสมบัติดีขึ้น คือ เหนียว ไม่เหม็นและยังสามารถซักน้ำได้
จากผลงานเหล่านี้ เรียกได้ว่า การอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายและหาคำตอบให้กับปัญหาใกล้ ๆ ตัว ก็คือ จุดเริ่มต้นของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ที่ก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์ระดับประเทศ
และทั้ง 3 ทีมที่ชนะเลิศ จะเป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปแข่งขันอวดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับโลกในงานอินเทล อินเตอร์เนชั่นแนล ซายน์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง แฟร์ หรือ อินเทลไอเซฟ ที่เมืองพิตส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคมนี้.
นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com
nattayap.k@gmail.com
แหล่งที่มา : www.dailynews.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น