นับแต่ขึ้นครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไม่ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยโดยเปล่าประโยชน์ ทรงศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาประเทศตามที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้
ตลอดระยะเวลา 66 ปี ของการครองสิริราชสมบัติ ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาในเรื่องของปากท้อง การทำมาหากิน และด้อยโอกาสในการเข้าถึงซึ่งความรู้ และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เฉพาะอย่างยิ่งราษฎรผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นชนบททุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาความยากจน ขาดเสถียรภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรแต่ละภูมิภาค ทรงรับทราบถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพและความเดือดร้อนของราษฎรด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นให้บรรเทาลงหรือหมดสิ้นไป เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและทัดเทียมกันของประชาชนทั้งชาติ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริแต่ละประเภทที่ปรากฏอยู่ทุกท้องถิ่นชนบททั่วประเทศ ล้วนทำให้ราษฎรได้ดำรงชีวิตที่มั่นคงขึ้น มีแหล่งน้ำต้นทุนในการทำนา ทำไร่ ทำสวน และมีน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค หลายพื้นที่ในปัจจุบันความยากลำบากเพราะขาดแคลนน้ำดูจะเป็นเพียงเรื่องราวในอดีตที่ไม่มีวันจะหวนกลับคืนมาอีก
เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิ 8 มูลนิธิ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นถึง 4,100 โครงการ โดยล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ดิน ธรณีวิทยา การเกษตร ตลอดจนการจัดสรรที่ดิน การประกอบอาชีพ รวมถึงการอนุรักษ์ และพัฒนาป่า ในปัจจุบันการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการต่างๆ เพื่อสนองพระราชดำรินั้น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นหน่วยงานกลางในการประสาน สนับสนุน การดำเนินงาน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2524 ซึ่งต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงใหม่เป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2534
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย แสวงหาแนวทาง และวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในลักษณะสหวิทยาให้บริการแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียวในการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้นๆ เมื่อค้นพบพิสูจน์ว่าได้ผลแล้ว จึงนำไปถ่ายทอดสู่ราษฎรเพื่อพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียง จนกระทั่งขยายแผ่กระจายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ เพื่อให้การพัฒนามีความสำเร็จอำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ราษฎร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาทุกแห่ง ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”
ปัจจุบันมี 6 ศูนย์ กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ได้นำพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่ไปสู่ชนบท และชุมชนของไทย ตลอดจนของประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่งมีคำกล่าวไว้ว่า “ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เคยย่างพระบาทไปถึง”
จากคุณูปการอันยังประโยชน์สู่ปวงประชาราษฎร์และมวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่างๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถในการแสวงหาความรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา
ปัจจุบันมี 6 ศูนย์ กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ได้นำพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่ไปสู่ชนบท และชุมชนของไทย ตลอดจนของประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่งมีคำกล่าวไว้ว่า “ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เคยย่างพระบาทไปถึง”
จากคุณูปการอันยังประโยชน์สู่ปวงประชาราษฎร์และมวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่างๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถในการแสวงหาความรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา
อาทิ ประธานรัฐสภายุโรปและสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรัฐสภายุโรป” ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติภาพของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลสันติภาพ” สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา” ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม” ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน” คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรางวัลเฉลิมพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ” หัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด” ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด”
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร” สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ทูลเกล้าฯถวาย “เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา” และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม เป็นพระองค์แรกของโลก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 136 ฉบับ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของปวงชนชาวไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระราชสัตยาอธิษฐานที่ทรงตั้งปณิธานมาตลอดการครองสิริราชสมบัติ ที่ไม่เพียงแต่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และมีโครงการเพื่อการช่วยเหลือเหล่าอาณาประชาราษฎร์มากมายเหลือคณานับเพียงเท่านั้น หากแต่ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลกอีกด้วย.
แหล่งที่มา : www.dailynews.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น